วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต

รูปแบบของกรมธรรม์ จะมีหลายรูปแบบและตั้งชื่อเป็นนามเฉพาะของแต่ละบริษัท ทุกรูปแบบพร้อมอัตราเบี้ยประกันภัยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนประกันชีวิต (อธิบดีกรมการประกันภัย) ก่อนจะนำเสนอขายแก่ประชาชน แต่โดยหลักวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นกรมธรรม์รูปแบบใดหรือชื่ออะไรก็ตาม จะอยู่ภายใต้แบบของการประกันชีวิตรวม 4 แบบคือ

 1. แบบชั่วระยะเวลา ให้ความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ โดยบริษัทจะจ่ายเงินตามจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ผู้รับประโยชน์ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้นั้น
2. แบบตลอดชีพ บริษัทจะจ่ายเงินตามจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้ผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ไม่ว่าจะเสียชีวิตเมื่อใดก็ตาม ** ทั้งแบบ 1 และแบบ 2 เป็นการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตแล้วเท่านั้น 
3. แบบสะสมทรัพย์ บริษัทจะจ่ายเงินตามจำนวนที่เอาประกันภัยไว้ ให้แก่ผู้รับประโยชน์ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หรือจ่ายเงินเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่มีชีวิตอยู่รอดพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้
4. แบบเงินได้ประจำ บริษัทจะจ่ายเงินได้ประจำ หรือเงินบำนาญให้แก่ผู้เอาประกันภัยโดยเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติเนื่องจากความชรา ไปจนถึงวันที่กำหนดไว้ (อาจเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือตลอดอายุก็ได้)

** แบบ 3 ส่วนท้าย และแบบ 4 เป็นการจ่ายเงินโดยมีเงื่อนไขว่าผู้เอาประกันภัยต้องมีชีวิตรอดอยู่จนพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบ Universal Life

กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบ Universal Life ทางเลือกใหม่สำหรับประชาชน
กรมการประกันภัยได้ออกประกาศนายทะเบียนเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกและเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ และหลักเกณฑ์การให้ความเห็นชอบแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันชีวิตและอัตรา เบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2547 ซึ่ง ณ ปัจจุบันได้ให้ความเห็นชอบให้บริษัทประกันชีวิตรายหนึ่งขายกรมธรรม์ประกัน ชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์เพื่อเป็นทางเลือกใหม่สำหรับประชาชนและสร้างความ หลากหลายให้กับธุรกิจประกันภัยแล้ว โดยมีลักษณะรายละเอียด ดังนี้
1. การประกันชีวิตในลักษณะควบคุมการลงทุน (Investment-linked life insurance)
เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่แยกส่วนความคุ้ม ครองชีวิต และส่วนการลงทุนอย่างชัดเจน โดยจะมีการให้ผลตอบแทนจากการลงทุน ซึ่งขึ้นอยู่กับผลการลงทุนของบริษัท แต่ไม่ต่ำกว่าผลตอบแทนขั้นต่ำที่ได้รับรองไว้
2. ความโปร่งใส
เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตรูปแบบใหม่ ที่มีการระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในกรมธรรม์ประกันชีวิตค่าการประกันภัย มูลค่ากรมธรรม์ประกันภัยในแต่ละช่วงเวลา และจำนวนผลตอบแทนที่ได้รับ ซึ่งการแสดงรายละเอียดดังกล่าวไม่มีในกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบทั่ว ๆ ไป
3. ความยืดหยุ่น
เป็นการประกันชีวิตที่เปิดโอกาสให้ผู้เอา ประกันภัยสามารถที่จะเลือกปรับเปลี่ยนความคุ้มครองชีวิต และส่วนการออมเงิน รวมทั้ง ปรับเพิ่มหรือลดจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ต้องชำระและจำนวนครั้งที่ชำระได้
4. สิทธิ์ในการถอนมูลค่ากรมธรรม์ประกันภัย
ผู้เอาประกันภัยสามารถถอนเงินจากมูลค่ากรมธรรม์ประกันภัยของตนเองได้ โดยอาจมีค่าใช้จ่ายภายใต้ข้อกำหนดของแต่ละบริษัท

ทั้งนี้ กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์ เป็นการประกันภัยที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เอาประกันภัยที่เปลี่ยน แปลงไปในแต่ละช่วงอายุ การดำเนินชีวิต สภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งตอบสนองการมีส่วนร่วมจากอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของบริษัทได้
ที่มา http://www.oic.or.th

ความหมายของการประกันชีวิต

การประกันชีวิต เป็นสัญญาระหว่างผู้ให้ประกัน ซึ่งมักเป็นบริษัทประกันชีวิต กับผู้เอาประกัน โดยผู้เอาประกันต้องจ่ายเบี้ยประกันให้ ผู้รับประกัน หากผู้เอาประกันเกิดเสียชีวิตขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับภายในเงื่อนไขใน กรมธรรม์ บริษัทประกันจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้รับผลประโยชน์เรียกว่าเงินสินไหม

ชนิดของการประกันชีวิต

  • ประกันชีวิตแบบช่วงระยะเวลา (Term) เป็นกรมธรรม์ที่มีอายุจำกัด บริษัทจะจ่ายเงินสินไหมให้ผู้รับผลประโยชน์ หากผู้เอาประกันเสียชีวิตในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ แต่ไม่มีเงินคืนเมื่อครบอายุกรมธรรม์ ตัวอย่างการเลือกประกันประเภทนี้ เช่น เพื่อการประกันความเสี่ยงในการผ่อนบ้าน ถึงแม้ว่าผู้ที่เป็นรายได้หลักของครอบครัวเกิดเสียชีวิต สมาชิกในครอบครัวซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ จะได้เงินประกันสำหรับชำระค่าผ่อนต่อโดยไม่มีภาระทางการเงิน
  • ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์ (Endowment) เป็นกรมธรรม์ที่มีอายุจำกัด บริษัทจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้รับผลประโยชน์เมื่อเสียชีวิต แต่หากมีชีวิตครบอายุกรมธรรม์ก็จะมอบเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกัน
  • ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Wholelife) เป็นการรับประกันชีวิตตลอดอายุผู้เอาประกัน(ในทางการค้า 90-99 ปี)
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity)คล้ายกับแบบออมทรัพย์ โดยบริษัทประกันชีวิตจะเก็บเบี้ยประกันจนถึงอายุระดับหนึ่งแล้วทยอยจ่ายคืน เงินให้กับผู้เอาประกัน
  • ประกันชีวิตควบการลงทุน (unit linked) เป็นการทำประกันชีวิตโดยได้ความคุ้มครองค่าความสามารถและในขณะเดียวกันก็ไม่ เสียโอกาสในการลงทุนในกองทุนรวมที่ทางบริษัทประกันคัดสรรมาให้ผู้เอาประกัน ได้เลือกลงทุนตามความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันรับได้ โดยตัวแทนที่ทำหน้าที่นำเสนอขายแบบประกันนี้จะต้องมีใบอนุญาตSingle Licenseจากกลต.ด้วย

ที่มา: Wiki